แนวทางการดำเนินงานในอนาคต

  1. การฝึกอบรมเวชศาสตร์ทหารต่อยอดจากอาชีวเวชศาสตร์ เพื่อความเป็นเลิศด้านเวชศาสตร์ทหาร
  2. การฝึกอบรมทีมงานอาชีวอนามัย เช่น พยาบาลอาชีวอนามัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย นักอาชีวสุขศาสตร์ นักการยศาสตร์ นักพิษวิทยา ฯลฯ เพี่อให้การดำเนินงานอาชีวอนามัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. การฝึกอบรมอาชีวเวชศาสตร์แก่แพทย์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคจากการประกอบอาชีพ เช่น จักษุวิทยา โสต ศอ นาสิก ลาริงซ์วิทยา ออร์โธปิดิกส์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู พิษวิทยา ฯลฯ
  4. การประเมินความเสี่ยงในการทำงานของทหารเหล่าต่างๆ เพื่อการดูแลด้านอาชีวอนามัยให้ดียิ่งขึ้น
  5. การประเมินสุขภาพและสมรรถภาพของทหารก่อนออกปฏิบัติภารกิจ ระหว่างปฏิบัติภารกิจ และหลังเสร็จภารกิจตามความเสี่ยง เพื่อความปลอดภัยของทหาร และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
  6. การประเมินการสูญเสียสมรรถภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ได้รับการชดเชยและดูแลตามความสูญเสียที่เกิดขึ้น ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมาตรฐานสากล
  7. การฟื้นฟูสมรรถภาพของทหารที่ได้รับบาดเจ็บจาการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้สามารถกลับมารับราชการ หรือทำงานด้านอื่นๆได้ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
  8. การดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกับกำลังพลหน่วยอื่นๆ ของกองทัพบก หรือภาค เอกชน ในการดูแลด้านอาชีวอนามัยแก่ครอบครัวของกำลังพล ชุมชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างทหารและประชาชน และเพื่อความก้าวหน้าผาสุกของสังคมส่วนรวม

จะเห็นได้ว่าอาชีวเวชศาสตร์มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ และช่วยในการเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศ จึงต้องมีการพัฒนาวิทยาการด้านนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและควบคุมสิ่งคุกคามในการประกอบอาชีพทำให้คนทำงานทุกอาชีพมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลให้ประเทศเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

โทร: 02-763-9300 ต่อ 93100โทรสาร: 02-354-9006