1. ความรู้ความสามารถและทักษะรายวิชา
1.1 อาชีวเวชศาสตร์พื้นฐาน (Basic Principle of Occupational Medicine)
ศึกษาวิชาอาชีวเวชศาสตร์พื้นฐานภาคทฤษฎี ประกอบด้วยเนื้อหาวิชาดังนี้
- อาชีวเวชกรรมเบื้องต้น งานสุขภาพ การเกิดโรค การเกิดอุบัติเหตุ
- สภาวะการทำงานและสิ่งแวดล้อมกับการทำงานเยี่ยงมนุษย์
- สุขภาพความปลอดภัยในการทำงานกับอนุสัญญาและข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
- ความเชื่อที่ผิด ๆ เช่นในเรื่อง
- ค่าขีดจำกัดความเข้มข้นของสิ่งคุกคามต่อสุขภาพกับการเกิดโรคเหตุอาชีพ
- อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
- โรคจากการประกอบอาชีพรักษาให้หายได้
- ความประมาทของคนงานกับการเกิดโรคและบาดเจ็บเหตุอาชีพ
- อาชีวเวชศาสตร์
- บทบาทและหน้าที่ของแพทย์ในด้านอาชีเวชศาสตร์
- พ.ร.บ. ประกันสังคม
- ประเด็นที่สำคัญของ พ.ร.บ. ประกันสังคม
- บทบาทและหน้าที่ของแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ประกันสังคม
- พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ร.บ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และพ.ร.บ. เงินทดแทน
- ประเด็นที่สำคัญของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ร.บ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ พ.ร.บ. เงินทดแทน
- บทบาทและหน้าที่ของแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ร.บ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และพ.ร.บ. เงินทดแทน
- การประเมินการสูญเสียสมรรถภาพ
- พ.ร.บ. วัตถุอันตราย
- ประเด็นที่สำคัญของ พ.ร.บ. วัตถุอันตราย
- บทบาทและหน้าที่ของแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. วัตถุอันตราย
- พ.ร.บ. โรงงาน
- ประเด็นที่สำคัญของ พ.ร.บ. โรงงาน
- บทบาทและหน้าที่ของแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. โรงงาน
- พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- ประเด็นที่สำคัญของ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- บทบาทและหน้าที่ของแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- พ.ร.บ. สาธารณสุข
- ประเด็นที่สำคัญของ พ.ร.บ. สาธารณสุข พ.ศ. 2535
- บทบาทและหน้าที่ของแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. สาธารณสุข พ.ศ. 2535
- พ.ร.บ. ประกันภัย
- ประเด็นที่สำคัญของ พ.ร.บ. ประกันภัย
- พ.ร.บ. ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562
- สาระสำคัญของพ.ร.บ. ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม
- บทบาทและหน้าที่ของแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม
- ความหมายของคำว่า Occupational diseases และ Work-related diseases
- ความหมายของโรคจากการประกอบอาชีพตามกฎหมาย
- ระบาดวิทยาในประเทศไทย
- ตัวอย่างของโรคจากการประกอบอาชีพในประเทศไทย
- การตรวจสุขภาพแรกเข้าทำงาน และการตรวจสุขภาพเป็นระยะ
- Factory visit and health examination surveys
- จริยธรรมของแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวเวชศาสตร์
- ระบาดวิทยาโรคจากการประกอบอาชีพ
- การเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพ
- พิษวิทยาเบื้องต้น
- โรคพิษโลหะหนัก
- Agricultural Medicine
- อันตรายต่อสมรรถภาพการได้ยินเนื่องจากการทำงาน
- Toxic gas
- อันตรายต่อสมรรถภาพการมองเห็นเนื่องจากการทำงาน
- โรคที่เกิดจากสารตัวทำละลายอินทรีย์
- โรคมะเร็งจากการประกอบอาชีพ
- โรคทางระบบประสาทจากการทำงาน
- โรคปอดจากการประกอบอาชีพ
- Repetitive strain injury
- Occupational stress
- Neuropsychiatric test
- Ergonomics
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับโรคจากการประกอบอาชีพ
- การประเมินความพร้อมในการทำงานและการประเมินเพื่อกลับเข้าทำงาน
- Early detection of Occupational diseases
- Industrial hygiene
- Occupational Safety
- ระบบบันทึกข้อมูลทางการแพทย์อาชีวเวชศาสตร์
- อันตรายเนื่องจากรังสี
- อันตรายเนื่องจากความร้อน แสง การสั่นสะเทือน จากการทำงาน
1.2 ฝึกปฏิบัติงานอาชีวเวชกรรมที่คลินิกโรคจากการทำงานหรือคลินิกอาชีวเวชกรรม
- วินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยด้วยโรคและ/หรือการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ และโรคเนื่องจากงาน
- ประเมินสภาวะสุขภาพเพื่อความเหมาะสมกับการทำงานและกลับเข้าทำงานหลังการเจ็บป่วย/บาดเจ็บ
- ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพร่างกายและจิตใจจากการทำงาน
- ฝึกใช้เครื่องมือการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
1.3 อายุรศาสตร์
ฝึกอบรมที่สถาบันหรือโรงพยาบาลที่แพทย์สภารับรอง โดยให้มีการจัดกิจกรรมวิชาการด้านอาชีวเวชศาสตร์เป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม และประกอบด้วยการฝึกอบรมดูแลผู้ป่วยและ/หรืออภิปรายปัญหาผู้ป่วยทางอาชีวเวชศาสตร์
- Pulmonary
- Occupational Lung Diseases
- Pneumoconioses
- Occupational Asthma
- Hypersensitivity Pneumonitis
- Byssinosis
- Chronic Bronchitis and Emphysema
- Acute and Chronic Respiratory Effects of Exposure to inhaled Toxic Agents
- Occupational Lung Cancer
- Occupational Lung Infectious Diseases
- Pulmonary function test
- Standards of interpretation and classification of chest radiographs in pneumoconiosis -- ILO classification
- Medical and laboratory assessment of respiratory impairment for disability evaluation
- Return to work
- Occupational Lung Diseases
- Cardiology
- Cardiovascular Toxicology
- Cardiovascular Evaluation in Workers' fitness
- Stress Exercise Test
- Medical Assessment of Cardiovascular Impairment for Disability Evaluation
- Return to work
- Dermatology
- Occupational Skin Disorders
- Irritant Contact Dermatitis
- Allergic Contact Dermatitis
- Contact Urticaria
- Work -- Aggravated Dermatoses
- Occupational Vitiligo
- Occupational Raynaud's Disease
- Cutaneous Malignancy
- Cutaneous Infections
- Skin Tests
- Medical Assessment of skin Impairment for Disability Evaluation
- Return to work
- Occupational Skin Disorders
- Neurology
- Neurotoxicology
- Evaluation of Peripheral and Central Nervous System Function
- Medical Assessment of Neurological Impairment for Disability Evaluation
- Return to work
- Toxicology
- Principles of Occupational (Industrial) Toxicology
- Toxicokinetics
- Inhalation Toxicology
- Carcinogenesis
- Toxicity Testing
- Applications of Toxicology
- Risk assessment
- Biological Monitoring
- Poison Control Center
- Principles of Occupational (Industrial) Toxicology
1.4 ออร์โธปิดิกส์
ฝึกอบรมที่โรงพยาบาลหรือสถาบันที่แพทยสภารับรอง โดยให้มีการจัดกิจกรรมวิชาการอาชีวเวชศาสตร์เป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม และประกอบด้วยการฝึกอบรมดูแลผู้ป่วยและ/หรืออภิปรายปัญหาผู้ป่วยทางอาชีวเวชศาสตร์ ดังนี้
- Trauma and Emergencies in the Workplace
- Cumulative Trauma Disorders of the Extremity
- Repetitive Strain Injury
- Ergonomics
- Medical Assessment of Musculoskeletal Impairment for Disability Evaluation
- Return to work
1.5 เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ฝึกอบรมที่โรงพยาบาล หรือสถาบันที่แพทยสภารับรอง โดยให้มีการจัดกิจกรรมวิชาการอาชีวเวชศาสตร์เป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม และประกอบด้วยการฝึกอบรมดูแลผู้ป่วยและ/หรืออภิปรายปัญหาผู้ป่วยทางอาชีวเวชศาสตร์ ดังนี้
- Impairment and Disability Evaluations
- Medical Rehabilitation
- Occupational Rehabilitation
- Return to work
1.6 สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ฝึกอบรมที่โรงพยาบาลที่แพทยสภารับรองโดยให้มีการจัดกิจกรรมวิชาการอาชีวเวชศาสตร์เป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมและประกอบด้วยการฝึกอบรมดูแลผู้ป่วยและ/หรืออภิปรายปัญหาผู้ป่วยทางอาชีวเวชศาสตร์ดังนี้
- Reproductive Toxicology and Occupation/Environmental Exposure
- Women in the Workplace
- Pregnancy and Work
- Reproductive consideration in Work's Fitness and Risk Evaluation
- Return to work
1.7 จักษุวิทยา
ฝึกอบรมที่โรงพยาบาลที่แพทยสภารับรองโดยให้มีการจัดกิจกรรมวิชาการอาชีวเวชศาสตร์เป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมและประกอบด้วยการฝึกอบรมดูแลผู้ป่วยและ/หรืออภิปรายปัญหาผู้ป่วยทางอาชีวเวชศาสตร์ดังนี้
- Eye Injuries due to Physical and Chemical Agents
- Visual Fitness test
- Assessment of Visual impairment for Disability Evaluation
- Return to work
1.8 โสต ศอ นาสิก ลาริงซ์วิทยา
ฝึกอบรมที่โรงพยาบาลที่แพทยสภารับรอง โดยให้มีการจัดกิจกรรมวิชาการอาชีวเวชศาสตร์เป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม และประกอบด้วยการฝึกอบรมดูแลผู้ป่วยและ/หรืออภิปรายปัญหาผู้ป่วยทางอาชีวเวชศาสตร์ ดังนี้ :-
- Occupation Hearing Loss
- Hearing Tests, Audiometry
- Hearing Conservation Program
- Personal Hearing Protection
- Audiometric Examination of Employees
- Assessment of Hearing Impairment for Disability Evaluation
- Return to work
1.9 จิตเวชศาสตร์
ฝึกอบรมที่โรงพยาบาลที่แพทยสภารับรองโดยให้มีการจัดกิจกรรมวิชาการอาชีวเวชศาสตร์เป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม และประกอบด้วยเนื้อหาการฝึกอบรมดังนี้
- Assessment of Mental Stress Factors at Work
- Occupational Stress
- Health and Safety in Shift Workers
- Diagnosis of absenteeism
- Neuropsychiatric Tests
- Mental and Behavioral Disorders Impairment Evaluation
- Psychiatric Examination for Stress Claims and Impairment Ratings
- Return to work
2. ศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตหรือเทียบเท่า
เพื่อศึกษาพื้นฐานความรู้ด้านอาชีวเวชศาสตร์และศึกษาการทำวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวเวชศาสตร์ สำหรับผู้ที่เคยศึกษาวุฒิดังกล่าวหรือเทียบเท่ามาแล้วอาจได้รับการพิจารณาให้ยกเว้น
- ศึกษาพื้นฐานอาชีวเวชศาสตร์ในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตหรือเทียบเท่า
- การทำวิทยานิพนธ์ในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตหรือเทียบเท่าตามที่กำหนดในหลักสูตร
3. ฝึกอบรมวิชาอาชีวเวชศาสตร์ภาคปฏิบัติ
ในสถาบัน โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรม ที่แพทยสภารับรองระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือน คือ
3.1 ฝึกปฏิบัติงานอาชีวเวชกรรมในสถาบันและโรงพยาบาล ครอบคลุมกิจกรรม ดังต่อไปนี้
- บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและ/หรือการบาดเจ็บแก่ผู้ประกอบอาชีพทุกสาขา
- เฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุม โรคและ/หรือการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพและโรคเนื่องจากงาน
- วินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยด้วยโรคและ/หรือการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ และโรคเนื่องจากงาน
- ตรวจวัด แปลผลการตรวจสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานและรอบสถานประกอบกิจการ
- ประเมินสภาวะสุขภาพเพื่อความเหมาะสมกับการทำงานและกลับเข้าทำงานหลังการเจ็บป่วย/บาดเจ็บ
- ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพร่างกายและจิตใจจากการทำงาน
- วางแผนและดำเนินการบริการอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานบริการสาธารณสุข สถานประกอบกิจการและชุมชน รวมทั้งการเตรียมการและตอบโต้อุบัติภัย
- เผยแพร่ฝึกอบรม ให้คำแนะนำ และคำปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันอุบัติภัยและโรคจากการประกอบอาชีพ และการปรับปรุงภาวะแวดล้อมในการทำงาน
- ฝึกปฏิบัติงานอื่นๆ ตามลักษณะเฉพาะของสถานฝึกปฏิบัติงาน
3.2 ฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
- การบริหารจัดการทั่วไปในโรงงาน
- ร่วมเป็นคณะกรรมการความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการ เพื่อให้ข้อมูลหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการของสถานประกอบกิจการ ซึ่งอาจมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จะได้ดำเนินการป้องกันตั้งแต่เริ่มต้น
- แพทย์ควรมีบทบาทในการร่วมสำรวจทั่วไปในสถานประกอบกิจการ เพื่อเฝ้าระวังและให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นแก่สุขภาพของพนักงานในแต่ละแผนกได้
- การจัดการทางสุขภาพ
- การสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่
- การให้คำแนะนำเกี่ยวกับระบบงานและลักษณะการทำงานที่เหมาะสม
- การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่ดี และการระวังป้องกันกับตนเองไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยจากการทำงาน
- การให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพแก่พนักงานและครอบครัวตามความเหมาะสม
- การจัดกิจกรรมพิเศษต่างๆ เช่น การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ, โภชนาการเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
- การป้องกันโรค
- การดูแลเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทั่วไปในโรงงาน
- การจัดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ เช่นงานปศุสัตว์ เป็นต้น
- งานบริการทางอาชีวเวชกรรม
- การตรวจสุขภาพพนักงานก่อนรับเข้าทำงาน(Pre-employment examination)
- การตรวจสุขภาพเมื่อจะบรรจุพนักงานในแต่ละแผนก หรือเมื่อมีการย้ายแผนก (Pre-placement examination )
- การตรวจสุขภาพเป็นระยะ (Periodic medical examination) ในกรณีทั่วไป มักเป็นการตรวจสุขภาพพนักงานปีละครั้ง แต่ในบางงานอาจต้องมีการตรวจสุขภาพพนักงานทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน
- การตรวจสุขภาพก่อนออกจากงาน (Pre-retirement examination) เป็นการตรวจสุขภาพก่อนที่พนักงานคนนั้นจะลาออกจากบริษัท/โรงงาน ซึ่งจะเป็นการตรวจยืนยันภาวะสุขภาพก่อนที่พนักงานคนนั้นจะไปทำงานอื่น
- การตรวจพิเศษทางสุขภาพ ได้แก่ การตรวจวิเคราะห์ปัญหาเฉพาะ เช่น
- การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometry) เพื่อการเฝ้าระวังปัญหาประสาทหูเสื่อมในพนักงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเสียงดัง
- การตรวจสมรรถภาพการมองเห็น (Vision test) ในพนักงานที่ต้องทำงานใช้สายตามากเป็นพิเศษ
- การตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด (Pulmonary Function test) ในพนักงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับฝุ่น หรือก๊าซต่าง ๆ
- การตรวจเลือดและปัสสาวะพนักงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีบางชนิด เช่นสารตะกั่ว แมงกานีส ปรอท เบนซีน โทลูอีน เป็นต้น
- การตรวจพิเศษอื่น ๆ
- การตรวจรักษาโรคและการบาดเจ็บ ได้แก่
- การตรวจรักษาโรคเจ็บป่วยทั่วไป
- การตรวจรักษาโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น
- การตรวจรักษาโรค และการบาดเจ็บจากการทำงาน
- การส่งพนักงานที่เจ็บป่วยหนักไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล
- การดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพพนักงานที่บาดเจ็บจนสามารถกลับเข้าทำงานได้ตามปกติ หรือแนะนำการย้ายแผนกตามความเหมาะสม
- การสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่
- การดูแลเกี่ยวกับปัญหากฎหมายทางสุขภาพและประโยชน์ทดแทนต่างๆ เช่น
- การลาป่วยของพนักงาน
- การออกใบรับรองแพทย์
- เงินทดแทนกรณีบาดเจ็บหรือป่วยจากการทำงานตามพ.ร.บ.เงินทดแทน
- การเจ็บป่วยและประโยชน์ทดแทนตาม พรบ. ประกันสังคม
- การดูแลการจัดเก็บเวชระเบียน และอื่น ๆ
- ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์/สวัสดิการอื่น ๆ
- การตรวจวัดสิ่งแวดล้อมและการแปลผล ได้แก่
- การตรวจวัดสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เช่น การวัดแสง เสียง ความร้อน ความชื้น ฝุ่น สารเคมี เป็นต้น
- การตรวจวัดสิ่งแวดล้อมรอบสถานประกอบกิจการ เช่น การตรวจอากาศ และน้ำที่ปล่อยออกจากสถานประกอบกิจการ เป็นต้น
3.3 ฝึกปฏิบัติงานกองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
3.4 ความรู้พื้นฐานทางทหาร ที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวเวชศาสตร์
เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
- ฝึกอบรมความรู้พื้นฐานทางด้านเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม ระยะเวลา 2 สัปดาห์จัดโดยสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ร่วมกับโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี
- ศึกษาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ณ กรมแพทย์ทหารบก และกองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
- ศึกษาเกี่ยวกับ พื้นฐานอนามัยสิ่งแวดล้อม และการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ณ กรมแพทย์ทหารบก
- ฝึกปฏิบัติงาน และศึกษาเพิ่มเติม ในเรื่องของ สถิติขั้นสูงในงานวิจัยทางเวชศาสตร์ชุมชน และ เรื่องอื่นๆ ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกรมแพทย์ทหารบก
Environmental design
- การออกแบบสภาพแวดล้อมในการทำงาน (working environment)หลักการเลือกใช้หลอดไฟในงานต่างๆ ให้เหมาะกับลักษณะงาน
- ระบบระบายอากาศและระบบปรับอากาศ
- ระบบบำบัดน้ำเสีย
- มาตรฐานสุขาภิบาลในสถานบริการสาธารณสุข
Medical intelligence
- วงรอบข่าวกรอง
- ข่าวกรองทางการแพทย์
- การวิเคราะห์พื้นที่ปฏิบัติการ
- การจัดทำแผนรวบรวมข่าวสาร
- การจัดทำแผนที่สถานการณ์ทางการแพทย์ (medical intelligence preparedness for disaster/battlefield,MIPD,MIPB)
Diaster management and medical emergency preparedness (ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ)
- ประเภทของสาธารณภัย
- วงรอบสาธารณภัย
- ระบบบัญชาการเหตุการณ์(incident command system)
- ขั้นตอนการตอบสนองต่อสาธารณภัย/ภัยพิบัติ
- basic rescue chain
- การคัดแยกผู้ป่วย
- การช่วยชีวิตเชิงยุทธวิธี ณ ที่เกิดเหตุ
- ตัวอย่างการจัดการภัยพิบัติที่น่าสนใจ ได้แก่ Radiation Emergency Management, คชรน. (NRBC), Hazmat
- ศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ อภิปรายหมู่
Basic preventive statistics and research
- ศึกษาพื้นฐานเวชศาสตร์ป้องกัน
- ระบาดวิทยาเบื้องต้น
- ปัจจัยก่อโรค
- ระดับของการป้องกันโรค
- การศึกษาทางระบาดวิทยา
- สถิติขั้นพื้นฐาน เพื่อปูพื้นฐานทางด้านการวิจัย สำหรับผู้เข้ารับการอบรม ในการดำเนินการวิจัย ขั้นที่ 1 การสอบสวนโรค การสอบสวนทางระบาดวิทยา
การจัดหน่วยทางทหาร
- ศึกษาภารกิจ การจัดของหน่วยงานของกระทรวงกลาโหม และกองทัพบก
MOOTW (Military Operation other than war)
- บรรยายในเรื่องของการปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากสงคราม (MOOTW)
- บทบาทของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ในการปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากสงคราม (MOOTW)
การวิเคราะห์สถานประกอบการ
- ขั้นตอนกระบวนการวิเคราะห์สถานประกอบการและการทำงานเพื่อความปลอดภัย (Job safety Analysis)
- Job Exposure Matrix
- การประเมินความเสี่ยง
- การวางแผนในการดูแลสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพร่วมกับสถานประกอบการ
- การใช้เครื่องมือ 7 ชิ้นมาวิเคราะห์สถานประกอบการเพื่อให้เข้าใจภาพขั้นต้นของสถานประกอบการก่อนวางแผนการสนับสนุนการบริการแพทย์ในสถานประกอบการ
การวางแผนทางการแพทย์
- หลักพื้นฐานของการวางแผนทางการแพทย์
- ฝึกปฏิบัติการวางแผนทางการแพทย์ ในสถานการณ์ต่างๆโดยประยุกต์ความรู้ทางด้านฝ่ายอำนวยการ และการแพทย์ มาวางแผนในการดูแลสุขภาพผู้ประกอบอาชีพการงาน
ฝ่ายอำนวยการเบื้องต้น(ศึกษาทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ)
- นิยาม
- ประเภทของฝ่ายอำนวยการ
- การจัดและงานในหน้าที่ของฝ่ายอำนวยการ
- กรรมวิธีแสวงข้อตกลงใจทางทหาร
- การเขียนข้อพิจารณาฝ่ายอำนวยการ
- ฝึกปฏิบัติงานจัดทำแผนทางการแพทย์ ในสถานการณ์ ที่คณาจารย์กำหนด เป็นกลุ่มรวมทั้ง 3 ชั้นปี โดยใช้กรรมวิธีแสวงข้อตกลงใจ