ภาคผนวกที่ 3 กิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้ (EPA)

สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ได้กำหนดกิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้ (EPA) สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่จะได้รับวุฒิบัตร/หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ ไว้ทั้งสิ้น 5 ข้อดังนี้

  • EPA 1 การประเมินภาวะสุขภาพตามหลักอาชีวเวชศาสตร์
  • EPA 2 การสร้างเสริมสุขภาพแก่คนทำงาน
  • EPA 3 การเฝ้าระวังทางการแพทย์
  • EPA 4 การวินิจฉัยและการจัดการโรคและ/หรือการเจ็บป่วยจากการทำงาน
  • EPA 5 การสอบสวนทางระบาดวิทยาของโรคและ/หรือการบาดเจ็บจากการทำงาน หรือการระบาดของโรคติดต่อในที่ทำงาน

โดยความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้และสมรรถนะหลักด้านต่างๆแสดงไว้ในตารางที่ 1

1. แนวทางการเรียนรู้และการประเมินความเชื่อมั่นตาม EPA

  • ระดับที่ 1: สังเกตการปฏิบัติงานและสามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และขั้นตอนของงานหรือกิจกรรมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  • ระดับที่ 2: สามารถปฏิบัติงานหรือกิจกรรมได้เบื้องต้นภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์อย่างใกล้ชิด
  • ระดับที่ 3: สามารถปฏิบัติงานหรือกิจกรรมได้ด้วยตนเอง ภายใต้การดูแลของอาจารย์
  • ระดับที่ 4: สามารถปฏิบัติงานหรือกิจกรรมได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีการกำกับดูแลของอาจารย์แต่สามารถขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ได้เมื่อจำเป็น
  • ระดับที่ 5: สามารถปฏิบัติงานหรือกิจกรรมได้ด้วยตนเองได้อย่างมั่นใจและสามารถควบคุมการปฏิบัติงานของผู้มีประสบการณ์น้อยกว่าได้

2. เนื้อหาการเรียนรู้และการประเมิน

2.1 การประเมินภาวะสุขภาพตามหลักอาชีวเวชศาสตร์

1. หัวข้อกิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้การประเมินภาวะสุขภาพตามหลักอาชีวเวชศาสตร์
2. ลักษณะเฉพาะ
  • 2.1 บ่งชี้ตำแหน่งงาน (job title) หน้าที่ (duty) ที่ต้องการความปลอดภัยสูง หรือมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ ที่จำเป็นต้องได้รับการประเมินภาวะสุขภาพก่อนเริ่มปฏิบัติงานตามแนวปฏิบัติของสถาบันด้านอาชีวเวชศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับจากองค์กรวิชาชีพ
  • 2.2 สามารถระบุภาวะสุขภาพ (medical condition) ที่จำเป็นต้องได้รับการประเมินก่อนกลับเข้าทำงานได้
  • 2.3 สามารถซักประวัติ และตรวจร่างกายคนทำงานได้อย่างถูกต้องครอบคลุมทั้งปัจจัยจากงาน/อาชีพ และปัจจัยกำหนดสุขภาพและการเจ็บป่วย (health determinants)
  • 2.4 สามารถประเมิน risk, capacity และ tolerance ได้อย่างถูกต้องตามหลักการในการประเมิน return to work โดยอ้างอิงตามแนวทางการประเมินตามหลักสากลที่เป็นที่ยอมรับ
  • 2.5 สามารถเลือกใช้เครื่องมือประเมิน functional capacity evaluation (FCE) ที่เหมาะสม หรือปรึกษาสหสาขาเพื่อร่วมประเมิน FCE ได้อย่างเหมาะสม
  • 2.6 สามารถรวบรวมข้อมูล สังเคราะห์ อภิปราย เพื่อประเมินภาวะสุขภาพตามหลักอาชีวเวชศาสตร์ และให้ความเห็นเกี่ยวกับสุขภาพในหนังสือรับรองสุขภาพหรือใบรับรองแพทย์ได้
  • 2.7 สามารถอธิบาย สื่อสาร แก่คนทำงานและนายจ้าง ถึงสุขภาพที่มีหรืออาจมีผลกับลักษณะงานที่มีความเสี่ยง รวมถึงผลการประเมินภาวะสุขภาพในประเด็น ข้อห้าม (restriction) และข้อจำกัด (limitation) ของงานได้
  • 2.8 สามารถให้คำแนะนำสถานประกอบกิจการในการจัดทำเอกสาร (documents) แนวปฏิบัติของฝ่ายบุคคล เรื่อง medical assessment for fitness for work and return to work
3. บริบท
  • 3.1. การจัดและให้บริการอาชีวเวชกรรมที่โรงพยาบาล (occupational medicine service) OPD/IPD
  • 3.2. การใช้องค์ความรู้อาชีวเวชศาสตร์ในการให้บริการอาชีวอนามัย ณ สถานประกอบกิจการ (enterprise setting)
4. สมรรถนะหลักที่ใช้4.1 worker and people care, medical knowledge and skills, interpersonal and communication skills, professionalism
5. ความรู้ ทักษะ เจตคติ พฤติกรรม และประสบการณ์ที่จำเป็นเพื่อให้เชื่อมั่นได้
  • 5.1 ความรู้ - occupational health and safety management, occupational health service in workplace, occupational medicine service, physical and psychological demand, potential risk of high physical and psychological demand job, law and regulations, principle of medical fitness for work and return to work assessment, nature of diseases, treatment and prognosis of acute and chronic diseases, medical guideline of fitness for work and return to work (international)
  • 5.2 ทักษะ - ทักษะการซักประวัติอาชีพ ตำแหน่งงาน และลักษณะงาน/กิจกรรม (task) และประวัติสุขภาพ การตรวจร่างกาย การใช้ evidence-based medicine การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลทางการแพทย์กับความเสี่ยงจากงาน การสื่อสารกับคนทำงานและนายจ้าง
  • 5.3 เจตคติและพฤติกรรม - professionalism
  • 5.4 ประสบการณ์
    • จัดประสบการณ์ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสามารถเข้าร่วมได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการประเมิน fit for work อย่างน้อย 2 กลุ่มอาชีพ/job title/duty (ตารางที่ 2)
    • จัดประสบการณ์ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสามารถเข้าร่วมได้ตั้งแต่ต้นจนจบการประเมิน return to work อย่างน้อย 2 กลุ่มโรคหรือภาวะสุขภาพ (ตารางที่ 3) โดยใช้แนวทางการประเมินตามหลักสากลหรือราชวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง
    • จัดประสบการณ์ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้จัดทำ เอกสารแนวปฏิบัติ fitness for work and return to work สำหรับสถานประกอบกิจการ
6. แหล่งสารสนเทศการประเมินผลเพื่อประเมินความก้าวหน้าและเพื่อการตัดสินใจให้ความเชื่อมั่นรวบยอด
  • 6.1 สังเกตการปฏิบัติงาน
  • 6.2 รายงานการประเมินภาวะสุขภาพเพื่อความเหมาะสมกับงาน หรือก่อนกลับเข้าทำงานภายหลังการ บาดเจ็บ/เจ็บป่วย การให้ความเห็น FCE ที่จำเป็น
  • 6.3 ความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียนตามหลักอาชีวเวชศาสตร์
  • 6.4 หนังสือให้ความเห็นภาวะสุขภาพหรือใบรับรองแพทย์ตามหลักอาชีวเวชศาสตร์
7. ความเชื่อมั่นในการกำหนดระดับการกำกับดูแลว่าถึงระยะใดของการฝึกอบรม
  • 7.1 fit for work
    • ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 1 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 1
    • ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 2 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 2 (5 รายจากกลุ่มอาชีพ/job title/ duty ที่แตกต่างกัน)
    • ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 3 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 3,4 (5 รายจากกลุ่มอาชีพ/job title/ duty ที่แตกต่างกันสำหรับระดับที่ 3 และ 5 รายจากกลุ่มอาชีพ/job title/ duty ที่แตกต่างกันสำหรับระดับที่ 4)
  • 7.2 return to work
    • ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 1 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 1
    • ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 2 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 2 (2 รายจากกลุ่มโรคหรือภาวะสุขภาพที่แตกต่างกัน)
    • ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 3 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 3,4 (2 รายจากกลุ่มโรคหรือภาวะสุขภาพที่แตกต่างกันสำหรับระดับที่ 3 และ 2 รายจากกลุ่มโรคหรือภาวะสุขภาพที่แตกต่างกันสำหรับระดับที่ 4)

2.2 การสร้างเสริมสุขภาพแก่คนทำงาน

1. หัวข้อกิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้การสร้างเสริมสุขภาพแก่คนทำงาน
2. ลักษณะเฉพาะ
  • 2.1 การวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ เช่น ผลการตรวจสุขภาพประจำปีหรือผลสุขภาพอื่นๆ เพื่อพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ให้เหมาะสมกับอาชีพหรือหน้าที่
  • 2.2 การสร้าง คัดเลือกรูปแบบ และพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ
  • 2.3 การจัดและบริหารกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ
  • 2.4 การประเมินผลโปรแกรมหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ
3. บริบท3.1. การให้บริการอาชีวอนามัยที่สถานประกอบกิจการ
4. สมรรถนะหลักที่ใช้4.1 worker and people care, medical knowledge and skills, interpersonal and communication skills, professionalism, system-based practice
5. ความรู้ ทักษะ เจตคติ พฤติกรรม และประสบการณ์ที่จำเป็นเพื่อให้เชื่อมั่นได้
  • 5.1 ความรู้ - theory of occupational health and safety management, behavioral theory, stage of change model, organization culture, qualities of instruments, evaluation instruments at worksite for health promotion, clinical preventive medicine, tools for health promotion, i.e. , Ottawa Charter, quality of work life assessment
  • 5.2 ทักษะ - need assessment การประมวลผลข้อมูลสุขภาพขนาดใหญ่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวิทยาการระบาด การสื่อสาร การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การบริหารจัดการโครงการ (project management)
  • 5.3 เจตคติและพฤติกรรม - professionalism
  • 5.4 ประสบการณ์ - จัดประสบการณ์ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสามารถจัดโปรแกรมหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพแก่คนทำงานได้
6. แหล่งสารสนเทศการประเมินผลเพื่อประเมินความก้าวหน้าและเพื่อการตัดสินใจให้ความเชื่อมั่นรวบยอด
  • 6.1 สังเกตการปฏิบัติงาน
  • 6.2 ความครบถ้วนสมบูรณ์ของรายงานประเมินโปรแกรมหรือกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ
  • 6.3 ประเมินโดย HR personnel, occupational safety and health personnel
7. ความเชื่อมั่นในการกำหนดระดับการกำกับดูแลว่าถึงระยะใดของการฝึกอบรม
  • 7.1 ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 1 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 1 (1 โปรแกรมหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ)
  • 7.2 ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 2 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 2 (1 โปรแกรมหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ)
  • 7.3 ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 3 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 3, 4 (1 โปรแกรมหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ)

2.3 การเฝ้าระวังทางการแพทย์ (medical surveillance)

1. หัวข้อกิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้การเฝ้าระวังทางการแพทย์
2. ลักษณะเฉพาะ
  • 2.1 เข้าใจและสามารถระบุสิ่งคุกคามสุขภาพต่อสุขภาพ (occupational health hazard) ประเมินการรับสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพต่อคนทำงาน (occupational exposure) ระบุอันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสิ่งคุกคาม รวมทั้งสามารถประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพได้
  • 2.2 ออกแบบการเฝ้าระวังทางการแพทย์ได้ โดยเลือกใช้เครื่องมือในการคัดกรอง (screening) การเฝ้าระวัง (surveillance) ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • 2.3 วางแผนการให้บริการการเฝ้าระวังทางการแพทย์และสุขภาพแก่คนทำงานทั้งในบริบทที่โรงพยาบาลและที่สถานประกอบกิจการ
  • 2.4 เขียนรายงานการเดินสำรวจประกอบการที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ตั้งแต่กระบวนการระบุสิ่งคุกคามสุขภาพ การประเมินการรับสัมผัส การระบุผู้สัมผัส (significant exposed person) การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ ตลอดจนถึงการตรวจสุขภาพหรือการตรวจร่างกายที่จำเป็นต่อการเฝ้าระวังทางการแพทย์
  • 2.5 สามารถซักประวัติตำแหน่งงาน (job title) และกิจกรรมที่ปฏิบัติ (job task) และตรวจร่างกายคนทำงานได้อย่างถูกต้องครอบคลุมทั้งปัจจัยจากงาน และปัจจัยกำหนดสุขภาพและการเจ็บป่วย โดยใช้แนวทางขององค์กรที่เป็นที่ยอมรับ
  • 2.6 แปลผลและวิเคราะห์ข้อมูลจากการเฝ้าระวังทางการแพทย์ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม หรือ similar exposure group (SEG) รายงานผล และติดตามกระบวนการเฝ้าระวังทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบจากข้อมูลที่มี
  • 2.7 สามารถให้คำแนะนำสถานประกอบกิจการในการจัดทำเอกสาร (documents) แนวปฏิบัติของฝ่ายบุคคล เรื่อง medical surveillance
  • 2.8 สามารถให้คำแนะนำด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลได้จากผลการเฝ้าระวังทางการแพทย์ เช่น การส่งตัวไปตรวจวินิจฉัยหรือรักษาเพิ่มเติม การปรับเปลี่ยนหน้างาน หรือ medical removal รวมถึงคำแนะนำด้านการป้องกันโรคแก่คนทำงาน เช่น การเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ถูกต้อง การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน
3. บริบท3.1. การจัดและให้บริการอาชีวเวชกรรมที่โรงพยาบาล (hospital setting) 3.2. การให้บริการอาชีวอนามัยที่สถานประกอบกิจการ (enterprise setting)
4. สมรรถนะหลักที่ใช้4.1 worker and people care, medical knowledges and skills, interpersonal and communication skills, professionalism, system-based practice
5. ความรู้ ทักษะ เจตคติ พฤติกรรม และประสบการณ์ที่จำเป็นเพื่อให้เชื่อมั่นได้
  • 5.1 ความรู้ - occupational health and safety management, occupational health service in workplace, occupational medicine service hazard identification, walk through survey, occupational exposure assessment, occupational exposure limit, health risk assessment, biological monitoring, health screening, common medical surveillance program, post-exposure surveillance, standard and regulations related to medical surveillance or medical examination
  • 5.2 ทักษะ - ทักษะการซักประวัติงาน หน้าที่ กิจกรรมในงาน สิ่งคุกคามต่อสุขภาพ ตรวจร่างกาย การวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ evidence-based medicine การเดินสำรวจสถานประกอบกิจการ การประเมินการรับสัมผัส การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ การอ่านผลการประเมินการสัมผัสโดยสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (industrial hygiene assessment) การสื่อสาร การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • 5.3 เจตคติและพฤติกรรม - professionalism
  • 5.4 ประสบการณ์ - จัดประสบการณ์ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสามารถเข้าร่วมได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการเฝ้าระวังทางการแพทย์ (medical surveillance) ในทุกลักษณะสิ่งคุกคามจากการทำงาน (ตารางที่ 4) ในช่วงระยะเวลาฝึกอบรม 3 ปี ทั้ง periodic และ post-exposure โดยให้ใช้ตามมาตรฐานสากล อาทิ US OSHA - จัดกิจกรรมเดินสำรวจสถานประกอบกิจการให้ได้อย่างน้อย 10 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาฝึกอบรม 3 ปี - จัดประสบการณ์ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสามารถให้คำแนะนำสถานประกอบกิจการในการจัดทำเอกสาร (documents) แนวปฏิบัติของฝ่ายบุคคล เรื่อง medical surveillance
6. แหล่งสารสนเทศการประเมินผลเพื่อประเมินความก้าวหน้าและเพื่อการตัดสินใจให้ความเชื่อมั่นรวบยอด
  • 6.1 สังเกตการปฏิบัติงาน
  • 6.2 ความครบถ้วนสมบูรณ์ของรายงานการเดินสำรวจสถานประกอบกิจการ
  • 6.3 ความครบถ้วนสมบูรณ์ของแนวทางการเฝ้าระวังทางการแพทย์และการรายงานผลการเฝ้าระวังทางการแพทย์ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
  • 6.4 feedback from OHD และ HR ของสถานประกอบกิจการ
7. ความเชื่อมั่นในการกำหนดระดับการกำกับดูแลว่าถึงระยะใดของการฝึกอบรม
  • 7.1 ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 1 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 1
  • 7.2 ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 2 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 2
  • 7.3 ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 3 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 3, 4

2.4 การวินิจฉัยและการจัดการโรคและ/หรือการเจ็บป่วยจากการทำงาน

1. หัวข้อกิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้การวินิจฉัยและการจัดการโรคและ/หรือการเจ็บป่วยจากการทำงาน
2. ลักษณะเฉพาะ
  • 2.1 สามารถซักประวัติการทำงาน/job title/ job task และตรวจร่างกายคนทำงานได้อย่างถูกต้องครอบคลุมทั้งปัจจัยจากงาน และปัจจัยกำหนดสุขภาพและการเจ็บป่วย
  • 2.2 สามารถระบุสิ่งคุกคามสุขภาพจากงาน ระบุการรับสัมผัส ระบุผลกระทบทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องได้
  • 2.3 สามารถเลือกใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจพิเศษต่างๆ ที่จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยหรือวินิจฉัยแยกโรคที่ไม่เนื่องจากงานออกไปได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • 2.4 สามารถตัดสินใจส่งปรึกษาสหสาขาวิชาชีพเพื่อช่วยวินิจฉัยหรือจัดการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  • 2.5 สามารถวินิจฉัยโรคจากการทำงานและให้ความเห็นเพื่อประโยชน์แก่คนทำงานในการขอรับเงินทดแทนหรือทางกฎหมาย
  • 2.6 สามารถบริหารจัดการ case ตามหลัก patient care process และตามบริบทการบริการอาชีวอนามัยเช่น return to work
  • 2.7 สามารถอธิบาย สื่อสาร แก่คนทำงาน นายจ้าง และประชาชนผู้ได้รับผลกระทบถึงประเด็นสุขภาพหรือโรคจากทำงานได้
3. บริบท
  • 3.1 การให้บริการอาชีวเวชกรรมที่โรงพยาบาล (hospital setting) OPD/IPD
  • 3.2 การสนับสนุนการจัดบริการอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการ (enterprise setting)
4. สมรรถนะหลักที่ใช้worker and people care, medical knowledges and skills, interpersonal and communication skills, professionalism, system-based practice
5. ความรู้ ทักษะ เจตคติ พฤติกรรม และประสบการณ์ที่จำเป็นเพื่อให้เชื่อมั่นได้
  • 5.1 ความรู้ - effects of work on health, internal medicine, orthopedics, psychiatry, otolaryngology, ophthalmology, medical rehabilitation, reproductive health, occupational toxicology, occupational diseases, occupational epidemiology, industrial hygiene, environmental diseases, law and regulations
  • 5.2 ทักษะ - ทักษะการซักประวัติการทำงาน/job title/ job task การตรวจร่างกาย การวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ การสื่อสารกับคนทำงานและนายจ้าง ทักษะ evidence-based medicine
  • 5.3 เจตคติและพฤติกรรม - professionalism - empathy
  • 5.4 ประสบการณ์ - จัดประสบการณ์ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสามารถเข้าร่วมกระบวนการวินิจฉัยโรคและ/หรือการเจ็บป่วย จากการทำงานได้ตามโรคหรือการเจ็บป่วยจากการทำงานที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ ต้องวินิจฉัยและจัดการได้ (ตารางที่ 5) อย่างน้อย 100 ราย ในช่วงระยะเวลาฝึกอบรม 3 ปี - จัดประสบการณ์ให้สามารถแยกโรคจากการทำงาน/โรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานกับโรคที่ไม่เกิดจากการทำงาน/โรคที่ไม่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน ในผู้ป่วยทาง internal medicine, orthopedics, psychiatry, otolaryngology, ophthalmology ได้ - จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเขียนรายงานการวินิจฉัยโรคและ/หรือการเจ็บป่วย จากการทำงาน (case report) ได้ - จัดประสบการณ์การวินิจฉัยโรคจากการทำงานพื้นฐาน และการส่งต่อเพื่อการดูแลรักษาพยาบาลเพิ่มเติม
6. แหล่งสารสนเทศการประเมินผลเพื่อประเมินความก้าวหน้าและเพื่อการตัดสินใจให้ความเชื่อมั่นรวบยอด
  • 6.1 สังเกตการปฏิบัติงาน
  • 6.2 รายงานการวินิจฉัยโรคและ/หรือการเจ็บป่วย จากการทำงาน
  • 6.3 ความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียนแบบอาชีวเวชศาสตร์และครอบคลุม patient care process
7. ความเชื่อมั่นในการกำหนดระดับการกำกับดูแลว่าถึงระยะใดของการฝึกอบรม
  • 7.1 ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 1 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 1
  • 7.2 ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 2 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 2
  • 7.3 ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 3 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 3, 4

2.5 การสอบสวนทางระบาดวิทยาของโรคและ/หรือการบาดเจ็บจากการทำงานหรือโรคติดต่อในที่ทำงาน

1. หัวข้อกิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้การสอบสวนทางระบาดวิทยาของโรคและ/หรือการบาดเจ็บจากการทำงานหรือโรคติดต่อที่ระบาดในที่ทำงาน
2. ลักษณะเฉพาะ
  • 2.1 สามารถยืนยันถึงการระบาดของโรคและ/หรือการบาดเจ็บจากการทำงานหรือโรคติดต่อในที่ทำงานได้
  • 2.2 สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์เลือกใช้รูปแบบการศึกษาทางวิทยาการระบาดในการสอบสวนฯ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  • 2.3 สามารถซักประวัติ และตรวจร่างกายคนทำงานหรือผู้ได้รับผลกระทบ ได้อย่างถูกต้องครอบคลุม
  • 2.4 สามารถเลือกใช้เครื่องมือ หรือพัฒนาเครื่องมือในการคัดกรองผู้ได้รับผลกระทบจากโรคและ/หรือการบาดเจ็บ จากการทำงานหรือโรคติดต่อในที่ทำงานได้
  • 2.5 สามารถวิเคราะห์สาเหตุการระบาดหรือการเกิดโรค ปัจจัยสนับสนุนการระบาดหรือการเกิดโรค จากข้อมูลที่ได้รับ
  • 2.6 สามารถให้คำแนะนำในการป้องกันการระบาดของโรคและ/หรือการบาดเจ็บ จากการทำงานหรือโรคติดต่อในที่ทำงานได้ เช่น การให้วัคซีน การปรับเปลี่ยนหน้างาน medical removal การเลือกอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ถูกต้อง
  • 2.7 สามารถอธิบาย สื่อสาร แก่คนทำงาน นายจ้าง และประชาชนผู้ได้รับผลกระทบถึงประเด็นสุขภาพหรือโรคจากการทำงานได้
  • 2.8 สามารถเขียนรายงานการสอบสวนเชิงระบาดวิทยาภาคสนามได้
3. บริบท
  • 3.1. การให้บริการอาชีวเวชกรรมที่โรงพยาบาล (hospital setting)
  • 3.2. การให้บริการอาชีวอนามัยที่สถานประกอบกิจการ (enterprise setting)
  • 3.3. หน่วยงานราชการด้านการป้องกันและควบคุมโรค
4. สมรรถนะหลักที่ใช้4.1 worker and people care, medical knowledges and skills, interpersonal and communication skills, Learning and Improvement, professionalism, system-based practice, field epidemiology,
5. ความรู้ ทักษะ เจตคติ พฤติกรรม และประสบการณ์ที่จำเป็นเพื่อให้เชื่อมั่นได้
  • 5.1 ความรู้ - occupational epidemiology, field epidemiology, disease surveillance and investigation, the occurrence of disease, diagnostic and screening test, study designs, principle of prevention
  • 5.2 ทักษะ - ทักษะการซักประวัติการทำงาน/ job title/ job task ประวัติสุขภาพของเพื่อนร่วมงานหรือชุมชน ตรวจร่างกาย การวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ field epidemiology การสื่อสารกับคนทำงานและนายจ้าง
  • 5.3 เจตคติและพฤติกรรม - professionalism - empathy
  • 5.4 ประสบการณ์ - จัดประสบการณ์ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสามารถเข้าร่วมกระบวนการสอบสวนทางระบาดวิทยาของโรคและ/หรือการบาดเจ็บจากการทำงาน หรือโรคติดต่อในที่ทำงานได้อย่าง โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การสอบสวนโรคจากการทำงาน และการสอบสวนการระบาดของโรคติดต่อในที่ทำงาน
6. แหล่งสารสนเทศการประเมินผลเพื่อประเมินความก้าวหน้าและเพื่อการตัดสินใจให้ความเชื่อมั่นรวบยอด
  • 6.1 สังเกตการปฏิบัติงาน
  • 6.2 รายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยาของโรคและ/หรือการบาดเจ็บจากการทำงาน หรือโรคติดต่อในที่ทำงาน
  • 6.3 แนวทางการควบคุมโรคจากการทำงาน
7. ความเชื่อมั่นในการกำหนดระดับการกำกับดูแลว่าถึงระยะใดของการฝึกอบรม
  • 7.1 ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 1 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 1
  • 7.2 ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 2 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 2
  • 7.3 ประเมินเมื่อจบขั้นปีที่ 3 – ความเชื่อมั่นระดับที่ 3, 4

3. Milestones ของแต่ละ EPA ตามขั้นปี

EPA ข้อที่ระกับความเชื่อมั่นตามขั้นปี
ขั้นปี 1ขั้นปี 2ขั้นปี 3
EPA 1 การประเมินภาวะสุขภาพตามหลักอาชีวเวชศาสตร์123, 4
EPA 2 การสร้างเสริมสุขภาพแก่คนทำงาน123, 4
EPA 3 การเฝ้าระวังทางการแพทย์123, 4
EPA 4 การวินิจฉัยและการจัดการโรคและ/หรือการเจ็บป่วยจากการทำงาน123, 4
EPA 5 การสอบสวนทางระบาดวิทยาของโรคและ/หรือการบาดเจ็บจากการทำงานหรือโรคติดต่อในที่ทำงาน123, 4
หมายเหตุ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถทำ EPA ให้ได้สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำในแต่ละขั้นปี ทั้งจำนวนและระดับความเชื่อมั่น

ตารางที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้และสมรรถนะหลักด้านต่างๆ

สมรรถนะหลักกิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้
การประเมินภาวะสุขภาพตามหลักอาชีวเวชศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพแก่คนทำงานการเฝ้าระวังทางการแพทย์การวินิจฉัยและการจัดการโรคและ/หรือการเจ็บป่วยจากการทำงานการสอบสวนทางระบาดวิทยาของโรคและ/หรือการบาดเจ็บจากการทำงานหรือโรคติดต่อในที่ทำงาน
การดูแลรักษาคนทำงาน
ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาสุขภาพของคนทำงาน
การเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการพัฒนาตนเอง
ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร
ความเป็นมืออาชีพ
การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ

ตารางที่ 2 กลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงและจำเป็นต้องได้รับการประเมิน fit for work (EPA 1)

กลุ่มอาชีพ
1. ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการอุตสาหกรรม
2. ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
3. ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูง
4. ผู้ปฏิบัติงานปรุงอาหาร
5. ผู้ปฏิบัติงานขับรถเพื่อการพาณิชย์
6. ผู้ปฏิบัติงานกับหน้ากากชนิดแนบแน่น
7. ผู้ปฏิบัติงานผจญเพลิงหรือกู้ภัย

ตารางที่ 3 กลุ่มโรคหรือภาวะทางสุขภาพที่ต้องได้รับการประเมิน return to work (EPA 1)

กลุ่มโรคหรือภาวะทางสุขภาพ
1. โรคทางระบบโครงร่างและกระดูกบริเวณสันหลัง
2. โรคทางระบบโครงร่างและกระดูกของรยางค์ส่วนบน
3. โรคทางระบบโครงร่างและกระดูกของรยางค์ส่วนล่าง
4. โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด
5. โรคทางระบบทางเดินหายใจ
6. โรคทางระบบประสาท
7. โรคทางระบบรูมาติซั่มและข้อ
8. โรคทางระบบทางเดินอาหาร
9. โรคทางระบบทางเดินปัสสาวะ
10. Working during pregnancy
11. โรคมะเร็งและโรคทางระบบเลือด
12. โรคทางจิตเวช
13. กลุ่มอาการ Fibromyalgia และ chronic fatigue syndrome

ตารางที่ 4 ลักษณะสิ่งคุกคามจากการทำงานที่มีความจำเป็นที่คนทำงานต้องได้รับการเฝ้าระวังทางการแพทย์ (EPA 3)

กลุ่มสิ่งคุกคาม
1.Physical hazards
2.Chemical hazards
3.Biological hazards
4.Psychosocial hazards
5.Ergonomics hazards

ตารางที่ 5 โรคหรือการเจ็บป่วยจากการทำงานที่ผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ ต้องวินิจฉัยและจัดการได้ (EPA 4, 5)

กลุ่มโรคหรือภาวะทางสุขภาพ
1. โรคจากสิ่งคุกคามทางกายภาพ
2. โรคทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ
3. โรคทางระบบผิวหนัง
4. โรคทางระบบทางเดินหายใจ
5. โรคพิษ จากการสัมผัสสารเคมี
โทร: 02-763-9300 ต่อ 93100โทรสาร: 02-354-9006